กล่องข้อความ: 		7-50100-001-076  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ชงโค , เสี้ยว , เสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี เสี้ยวดอกแดง เสี้ยวหวาน  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Bauhinia purpurea L.  ชื่อวงศ์	:  CAESALPINIAC  ชื่อสามัญ	:  Orchid Tree  ประโยชน์	:  สรรพคุณทางด้านสมุนไพร ใบ ต้มกินรักษาอาการไอ ลดไข้ แก้เจ็บตา ดอกและราก ลดไข้ เป็นยาระบาย ยาขับลม ผล บำรุงหัวใจ เมล็ด แก้ท้องเสีย

บริเวณที่พบ : หอประชุม 2, สวนป่า
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ดอกประดับ
ลักษณะทั่วไป :  ไม้ต้นชนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง
ต้น : ไม้สูงถึง 10 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม กว้าง 8-16 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ปลายใบเว้าลึกโคนใบมนหรือเว้า
คล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ
ดอก :  สีชมพูม่วงถึงสีม่วงสด  มีกลิ่นหอม   ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงประกอบตามซอกใบและปลายกิ่ง 
กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 3-8 เซนติเมตร ปลายมน โคนคอดเรียว ดอกบานเต็มที่กว้าง8-15 เซนติเมตร
ผล : ฝักยาว 20 – 25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
เมล็ด : เมล็ดกลม มี 10 เมล็ด ในหนึ่งผลในตามธรรมชาติพบขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ปัจจุบันนำมาปลูกริมทาง
และสถานที่ราชการ สามารถขึ้นได้ดี การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ประโยชน์ :
         ใบ
ต้มกินรักษาอาการไอ
         ดอก เป็นยาระบายขับพิษไข้
         ราก ต้มกินเป็นยาระบาย
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ดอกและแก่นมีสรรพคุณแก้โรคบิด ใบมีสรรพคุณขับปัสสาวะใบอ่อนของผักเสี้ยว
เป็นผักที่ชาวเหนือนิยมรับประทาน

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   ชงโค , เสี้ยว , เสี้ยวหวาน     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-076